กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 17 เม.ย. 68
ฝ่ายกิจการวัฒนธรรมของสำนักงานตัวแทนรัฐบาลไต้หวันประจำมาเลเซีย และ ArtsEquator ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐด้านศิลปะของสิงคโปร์ ประสานความร่วมมือกันจัดแคมเปญที่รวบรวมนักวิจารณ์ศิลปะ 11 คน จาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมเดินทางเยือนไต้หวันในช่วงกลางเดือนเมษายนนี้ ซึ่งคณะสมาชิกนอกจากมีความประสงค์ที่จะทำความรู้จักกับภาพลักษณ์ด้านศิลปะของไต้หวัน ผ่านการจัดเทศกาลศิลปะนานาชาติไต้หวัน สัปดาห์ไต้หวัน (TIFA Taiwan) โดยโรงละครหอแสดงดนตรีแห่งชาติไต้หวันแล้ว ยังมีการเปิดโอกาสให้นักวิจารณ์ร่วมแสดงความคิดเห็น และมีกำหนดการร่วมเสวนากับตัวแทนองค์กรความเชี่ยวชาญของไต้หวันหลายหน่วยงาน ผ่าน “การประชุมผู้สังเกตการณ์” ที่จัดโดย Taiwan Contemporary Culture Lab (C-LAB) เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2568 ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจด้านระบบนิเวศเชิงศิลปะของกันและกัน ควบคู่ไปกับการจัดตั้งความเชื่อมโยงอย่างมืออาชีพ
ภายใต้อิทธิพลที่ได้รับจากกลุ่มอาเซียน (ASEAN) กว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่เพียงแต่จะมีความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันแล้ว ยังมีคุณลักษณะเฉพาะร่วมกันในภูมิภาค ทั้งในด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยองค์การศิลปะส่วนมากมักจะดำเนินขอบเขตกิจกรรมในระดับภูมิภาค จึงส่งผลให้เครือข่ายการแลกเปลี่ยนดำเนินไปในทิศทางเชิงกว้างและมีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิด ซึ่ง ArtsEquator นับว่าเป็นหนึ่งในกรณีตัวอย่าง ซึ่งตลอดหลายปีมานี้ ArtsEquator อาศัยแผนผลักดันระบบนิเวศเชิงศิลปะที่สมบูรณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการเรียกร้องให้นานาประเทศในภูมิภาค ร่วมปรับปรุงแก้ไขเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างหลักการวิจารณ์ศิลปะ
เพื่อสร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนระหว่างนักวิจารณ์ศิลปะ ให้เกิดความเข้าใจต่อสภาพแวดล้อมและความท้าทายทางศิลปะระหว่างกัน ฝ่ายกิจกรรมวัฒนธรรมไต้หวันประจำมาเลเซียและ C-Lab จึงได้ประสานความร่วมมือกันจัด “การประชุมผู้สังเกตการณ์ ปี 2568” โดยการประชุมรอบแรกจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “สถานการณ์ในปัจจุบันเกี่ยวกับศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการวิจารณ์เชิงวัฒนธรรม” โดยตัวแทนจากแต่ละประเทศต่างเข้าร่วมแบ่งปันสถานการณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องของประเทศตน ส่วนรอบที่ 2 จัดขึ้นในหัวข้อ “บทบาทของหน่วยงานและแพลตฟอร์ม-การสังเกตการณ์ระบบนิเวศศิลปะไต้หวันและการวิจารณ์เชิงวัฒนธรรม” ซึ่งการประชุมทั้งสองรอบข้างต้น ล้วนถูกจับจองที่นั่งเต็มจำนวน