กระทรวงสิ่งแวดล้อม วันที่ 18 ก.พ. 68
เพื่อพิชิตเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 ควบคู่ไปกับการมุ่งผลักดันโครงการความหวังของชาติ ด้วยแนวทาง “การรังสรรค์วิถีชีวิตปลอดก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบสีเขียวที่ยั่งยืน” กระทรวงสิ่งแวดล้อม (Ministry of Environment, MOENV) จึงได้จับมือกับกลุ่มผู้ประกอบการในแวดวงอุตสาหกรรม ขานรับแนวคิด “วิถีชีวิตสีเขียว” ด้วยการจัดตั้งองค์การ Green Lifestyle Partnership ขึ้น ซึ่งได้เปิดตัวอย่างทางการในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 มีหน่วยงานภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาการและการวิจัย รวม 20 องค์การเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก เพื่อประกาศย้ำความมุ่งมั่นตั้งใจในการก้าวสู่วิถีชีวิตสีเขียวอย่างเต็มรูปแบบ
นายเผิงฉี่หมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) กล่าวขณะปราศรัยว่า อุตสาหกรรมทุกแขนงมีปัจจัยหลายประการที่สมควรได้รับการปรับปรุงในเรื่องของการลดคาร์บอน ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาการผนึกกำลังในการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม เพื่อร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน MOENV จึงหวังที่จะอาศัยจิตวิญญาณของผู้เผยแพร่ศาสนา สร้างหลักการความเชื่อในวิถีชีวิตให้แก่ภาคประชาชน และประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนรุ่นใหม่ในการอัดฉีดพลังความสดใสรูปแบบสีเขียว ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ได้รับการนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมทางการตลาดในวัฏจักรที่ดีงาม ผ่านมุมมองผู้ประกอบการภาคธุรกิจ
นางหงสูซิ่ง อธิบดีกรมแผนงาน ภายใต้สังกัด MOENV กล่าวขณะชี้แจงว่า หลัง “Green การจัดตั้ง “Green Lifestyle Partnership” จะมีการเฝ้าจับตาทิศทางสถานการณ์และความประสงค์มในการเปลี่ยนผ่านสู่วิถีชีวิตสีเขียวของภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการแบ่งปันแนวโน้มและข้อมูลแผนโซลูชันรูปแบบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตสีเขียว เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ประกอบการในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานและวิถีชีวิต ตามหลักการรูปแบบสีเขียว ผ่านมาตรการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พนักงาน ได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะอาศัยศักยภาพของภาคธุรกิจ ในการยกระดับความตระหนักรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคประชาสังคม
“Green Lifestyle Partnership” ยังมีกำหนดการจัดการประชุมในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ “สำนักงานสีเขียว” “การท่องเที่ยวสีเขียว” “อาหารสีเขียว” และ “การบริโภคสีเขียว” เป็นต้น ซึ่งการประชุมรอบแรก ภายใต้หัวข้อ “สำนักงานสีเขียว : ภาคธุรกิจร่วมรณรงค์สร้างวิถีชีวิตการทำงานในรูปแบบสีเขียว” ได้เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยมีศาสตราจารย์เย่ซินเฉิง ประจำมหาวิทยาลัยครูแห่งชาติไต้หวัน (NTNU) รับหน้าที่เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และพิธีกรเวทีเสวนา โดย ศ.เย่ฯ กล่าวว่า เรื่องราคาที่ย่อมเยาและความสะดวก ถือเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการผลักดันวิถีชีวิตสีเขียวที่ปลอดคาร์บอน จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในระหว่างกระบวนการผลักดัน ตลอดจนคิดหามาตรการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ขณะเดียวกัน ก็ยังต้องพิจารณาแนวทางการผสมผสานทางเทคโนโลยี เพื่อก้าวข้ามกรอบจำกัดด้านธรรมชาติของมนุษย์ ควบคู่ไปกับการจัดเวทีแบ่งปันประสบการณ์การผลักดันวิถีชีวิตสีเขียวอย่างสม่ำเสมอ
นางหวังซูเจิน ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท Friendlyseed แถลงภายใต้หัวข้อ “จากความซาบซึ้งใจพัฒนาไปสู่เส้นทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ด้วยประสบการณ์การพัฒนาความยั่งยืน” โดยระบุว่า การศึกษาเป็นอาวุธสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงโลก เมื่อใดที่เมล็ดพันธุ์แห่งความเป็นมิตรทางสิ่งแวดล้อม หยั่งรากลึกสู่จิตใจมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตหรือการทำงาน พฤติกรรมการบริโภคก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง
นายหลี่สวี่ปิน ผู้อำนวยการบริษัท AUO Corporation ร่วมแบ่งปันแนวทางการส่งเสริมแนวคิดรักษ์โลก เข้าสู่สังคมการทำงานให้แก่เหล่าพนักงาน อาทิ การประชาสัมพันธ์อาหารคาร์บอนต่ำในโรงอาหารของบริษัท การจัดระบบที่จอดรถอัจฉริยะและแท่นชาร์จ การเพิ่มพูนคุณสมบัติของเหล่าพนักงาน ผ่านการยื่นเสนอแผนการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ
นางหลี่ชิงหรู ผู้จัดการอาวุโสของธนาคาร Taipei Fubon Bank ร่วมแบ่งปันว่า ความยั่งยืนก็เปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอน ที่เริ่มจาก “การปลูกฝังความตระหนักรู้” ไปสู่ “การปฏิบัติจริง” และจาก “รายบุคคล” ไปสู่ “กลุ่มบุคคล” ซึ่งมาตรการต่างๆ จะต้องยึดมั่นในหลักการเรียบง่าย สนุก มีแรงจูงใจ และสามารถพัฒนาต่อยอดได้