กระทรวงเศรษฐการ วันที่ 17 ธ.ค. 67
เพื่อเร่งผลักดันการขุดเจาะแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศ สำนักงานสำรวจทรัพยากรธรณีวิทยาและบริหารจัดการเหมืองแร่ (Geological Survey and Mining Management Agency, GSMMA) กระทรวงเศรษฐการ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) จึงได้จัด “การประชุมว่าด้วยการสำรวจแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ประจำปี พ.ศ. 2567 เพื่อชี้แจงสถานการณ์ความคืบหน้าของการขุดเจาะแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ” ขึ้น ณ Howard Civil Service International House ในวันที่ 17 ธันวาคม 2567 เพื่อรวบรวมผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการเข้าสำรวจแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพภายใประเทศ ที่สั่งสมมาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้ GSMMA และบริษัท Ortadogu ของตรุกี ที่ได้รับการทาบทามจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมไต้หวัน (ITRI) ยังได้ประสานความร่วมมือกันเป็นครั้งแรก ในการขุดเจาะแท่งตัวอย่าง (Core Bit) ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่แหล่งพลังงาน ที่มีความลึกกว่า 2,000 เมตร หรือเทียบเท่ากับตึกไทเป 101 จำนวน 4 อาคารเรียงซ้อนกัน นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 ทีมเจ้าหน้าที่ยังได้เดินทางต่อไปยังกลุ่มภูเขาไฟต้าถุน เพื่อลงพื้นที่สำรวจแหล่งความร้อนใต้พิภพ ทั้งนี้ เพื่อชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมทำความเข้าใจกับผลสัมฤทธิ์จากการลงพื้นที่สำรวจ ที่สั่งสมมาจวบจนปัจจุบัน และสัมผัสกับความอัศจรรย์ของพลังงานความร้อนใต้พิภพในเขตพื้นที่ภูเขาไฟ หลังจากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าความร้อนใต้พิภพซื่อหวงจื่อผิงของบริษัท Fabulous Power Co.,Ltd. เพื่อทำความเข้าใจกับพลังงานหมุนเวียนใต้พิภพ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การประชุมในครั้งนี้ได้รวบรวมเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่ให้ความสนใจต่อประเด็นพลังงานความร้อนใต้พิภพเข้าร่วม จำนวนกว่า 400 คน เพื่อร่วมอภิปรายและแบ่งปันประเด็นการพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพของไต้หวัน โดยในระหว่างการประชุม มีการนำแท่งตัวอย่างที่มีความยาวกว่า 3 เมตร ที่ได้จากการขุดเจาะในเขตพื้นที่อู้ลู่ ตำบลไห่ตวน เมืองไถตง และเป็นหลุมแรกของไต้หวันที่มีความลึกกว่า 2,000 เมตรขึ้นไป ที่ใช้เวลาขุดเจาะนานกว่า 8 เดือน นับเป็นผลสัมฤทธิ์ที่ประสบความสำเร็จในการเอาชนะลักษณะทางธรณีวิทยาที่ย่ำแย่ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจะนำแท่งตัวอย่างที่ได้ มาทำการทดลองและวิเคราะห์ เพื่อหาบทสรุปของคุณสมบัติพิเศษของแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพ และช่องทางรอยแยกของเหลวที่ให้พลังงานความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 140 องศาเซลเซียส ควบคู่ไปกับการประเมินศักยภาพของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่น่าจับตามองคือ แท่งตัวอย่างดังกล่าวเป็นครั้งแรกของประเทศที่ได้มีการขุดพบหินแกรนิต ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเปลือกโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้แท่งตัวอย่าง ในการวิเคราะห์และประเมินลักษณะเฉพาะตัวของพลังงานความร้อนใต้พิภพ
GSMMA จับมือกับทีมผู้เชี่ยวชาญในประเทศ ผลักดันการสำรวจที่หลากหลายแบบก้าวข้ามกรอบจำกัด ประกอบกับเทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่นับวันยิ่งมีการพัฒนาที่ก้าวกระโดด จึงได้มีการนำเสนอภาพลักษณ์และศักยภาพของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ซ่อนอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในไต้หวัน ผ่านการประชุมในครั้งนี้
การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงสถานการณ์ความคืบหน้าของการขุดเจาะแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งบ่งชี้ถึงการมุ่งผลักดันการพัฒนาและประยุกต์ใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยในระหว่างการประชุม จัดให้มีการบรรยายในหัวข้อพิเศษ รวม 14 รายการ และการแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยี โดยเนื้อหาการประชุมครอบคลุมทั้งในส่วนของการประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และความท้าทายที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาแหล่งศักยภาพทั่วทุกพื้นที่